เข้าใช้โดย IP: 34.201.122.150|  
เมนูหลัก
ข้อมูลสารสนเทศ
หน่วยงานภานใน
แผนกวิชา
เพื่อนอาชีวะ
สถิติเว็บไซต์
ออนไลน์ : 2  
เข้าชมวันนี้ : 10  
เข้าชมเดือนนี้ : 1,183  
เข้าชมปีนี้ : 3,693  
ผู้เยี่ยมชมรวม : 123,111  
  ความเป็นมา

ประวัติวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่


 

วีดีโอแนะนำวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่

....วันที่ 1 กันยายน 2481 โรงเรียนประเภทอาชีวศึกษา ได้เปิดดำเนินการขึ้น
ในจังหวัดสงขลาพร้อมกัน 2 โรง คือ โรงเรียนช่างไม้สงขลา 
และโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เมื่อเริ่มดำเนินการโรงเรียนช่างไม้สงขลา มีครู 2 คน 
คือ นายจาบ แสงจันทร์ เป็นครูใหญ่ และ นายเขื่อน เขมาภรณ์ เป็นครูน้อย มีนักเรียน 30 คน อาศัยอาคารหลังเล็กในบริเวณโรงเรียนประชาบาล 1 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (โรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน) เป็นอาคารเรียนและที่ทำการ โรงฝึกงานอาศัยร่มไม้ของต้นก้ามปูและต้นหูกวาง
..... ทางด้านโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เปิดสอนแผนกช่างเย็บผ้า และแผนกช่างทอผ้า
แผนกช่างเย็บผ้า ได้เช่าห้องแถว 1 ห้อง ที่หน้าวัดดอนรักษ์ถนนไทรบุรี อ.เมือง จ.สงขลา 
เป็นสถานที่เรียน ต่อมาได้ย้ายมาเช่าห้องแถวใหม่ที่หน้าสาขาสมาคมรัฐธรรมนูญ 
ถ.กาญจนวนิช (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา) 
เป็นสถานที่เรียน พ.ศ. 2482 โรงเรียนช่างไม้สงขลา และโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา ต่างได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนช่างไม้สงขลาได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้น
ที่บริเวณวัดนาถม ซึ่งร้างมานานแล้ว ส่วนโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นในที่ดินของราชพัสดุ กับที่ดินของการรถไฟ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ในปัจจุบัน) 
พ.ศ.2490 ทั้งสองโรงเรียน ได้เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรับผู้สำเร็จชั้นป.4 เข้าเรียน 
พ.ศ.2492 ได้ขยายชั้นเรียนสูงขึ้น เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับผู้สำเร็จ ชั้นม.3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน 
พ.ศ.2493 นายจาบ แสงจันทร์ ครูใหญ่คนแรกเกษียณอายุพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อ 8 ธันวาคม 2493 และนายสุธน เจริญพงศ์ เข้ารับตำแหน่งสืบมา 
พ.ศ.2501 โรงเรียนช่างไม้สงขลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสงขลา มีนายสุธน เจริญพงศ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ 
พ.ศ.2502 ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฝึกช่างฝีมือขององค์การสนธิสัญญา
ป้องกันอาเซียอาคเนย์ (ส.ป.อ. SEATO) โดยมหาวิทยาลัย ฮาไวอิ เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
(หมดสัญญา เมื่อ 30 มิถุนายน 2508) 
พ.ศ.2503 โรงเรียนการช่างสงขลาได้เปิดสอนวิชาช่างอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 6 แผนก คือ ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุและโทรคมนาคม โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นม.3 กับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปี เข้าเรียน 
พ.ศ.2504 ทั้งสองโรงเรียนได้เปลี่ยนหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อระดับชั้นเรียน โดยเรียกชื่อใหม่ว่า ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สายอาชีพ รับผู้สำเร็จชั้น ม.3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน และชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ รับผู้สำเร็จชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน 
พ.ศ.2507 โรงเรียนการช่างสตรีสงขลาได้รับคัดเลือกเข้าอยู่ในโครงการปรับปรุง
ของกรมอาชีวศึกษาด้วยความรวมมือของยูนิเซฟ จงมีการเปลี่ยนแปลงและกระบวนวิชาเรียนเป็นเปิดสอน4แผนกวิชาคือ
- แผนกอาหารและโภชนาการ
- แผนกผ้าและการตัดเย็บ
- แผนกวิชาคหกรรมศาสตร์
- แผนกวิชาศิลปหัตถกรรม
 
พ.ศ.2510 โรงเรียนการช่างสงขลา ได้ถูกจัดเป็นโรงเรียน โครงการเงินกู้พ่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ.2510-2514 
พ.ศ.2514 โรงเรียนการช่างสงขลา โดยนายสุธน เจริญพงศ์ ได้ย้ายมาเรียนในที่ใหม่ที่หลักกิโลเมตรที่ 25 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนเทคนิคสงขลา" และปีต่อมาโรงเรียนการช่างสตรีสงขลาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลา" 
1 ตุลาคม 2519 ทั้งสองได้รับการยกฐานะรวมกันขึ้นเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา โดยให้โรงเรียนเทคนิคสงขลาเป็นวิทยาเขต 1 และให้โรงเรียนเทคนิคสงขลามีพื้นที่ประมาณ เป็นวิทยาเขต2 
1 ตุลาคม 2522 โรงเรียนเทคนิคสงขลา วิทยาเขต 1 ได้แยกจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาซึ่งมีอยู่ 2 วิทยาเขตโดยวิทยาเขต1 ได้เปลี่ยนมาเป็น วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ชึ่งตั้งอยู่เลขที่191/1ถนนกาญจนนิชอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลามีพื้นที่ 80 ไร่3งาน16.6 ตารางวาเป็นวิทยาลัยที่เปิดทำการสอนทางช่างอุตสาหกรรม 
พ.ศ.2524 เปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.)4สาขาวิชาคือ 1.สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมสำรวจ2.สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า 
3.สาขาวิชาช่างเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ 
4.สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 
พ.ศ.2527 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)เพิ่มขึ้นอีก2สาขาวิชาคือ 1.สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต
2.สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ 
พ.ศ.2529 เปิดสอน หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.)เพิ่มขึ้นอีก1สาขาวีชาในคณะวิชาช่างกล คือ -สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมเขียนแบบ -เปิดสอนหลักสูตรพิเศษ 1ปี ตาม โครงการอาชีวศึกษาเพื่อนาชนบท คือหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน 
พ.ศ.2531 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เพิ่มขึ้นอีก 4 สาขาวิชา เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน คือ 
1. สาขาวิชาช่างยนต์กลเกษตร 
2. สาขาวิชาช่างเขียนแบบ 
3. สาขาวิชาช่างสำรวจ 
4. สาขาวิชาช่างเคหภัณฑ์ 
พ.ศ.2532 ลดสาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมเขียนแบบในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) 
พ.ศ.2533 ลดสาขาวิชาเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) 2 สาขาวิชา คือ 
1. สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า 
2. สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 
พ.ศ.2534 
- เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
เพิ่มอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาช่างโยธา คณะวิชาการก่อสร้าง 
- เปิดสอนภาคสมทบ หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ที่กำลังทำงาน ได้มีโอกาสได้ศึกษาเพิ่มวิทยฐานะสาขาวิชาช่างเครื่องกลไฟฟ้า 
- เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมอาชีวศึกษากับ
บริษัทโททาลเอ็กซ์โพรเรชั่นแอนด์โปรดักชั่นไทยแลนด์โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม
ช่างเทคนิคปฏิบัติการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ขึ้นที่วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ โครงการนี้มีกำหนด 3 ปี (ตั้งแต่ 1 กันยายน 2534-31 สิงหาคม 2537) ในปีแรกรับพนักงานเข้าฝึกอบรม จำนวน 50 คน (ระยะฝึกงานระหว่างเดือนธันวาคม 2534 - มีนาคม 2536) บริษัทได้สนับสนุนทางการเงินเพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรคิดเป็นมูลค่า ปีละประมาณ 840,000 บาท 
พ.ศ.2536 
- เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) เทียบเท่าปริญญาตรี ในสาขาวิชาเทคนิคการผลิต (วิชาเอกเชื่อมและประสาน) เพื่อผลิตครูช่างเทคนิคที่มีความรู้ ความสามารถ ในการสอนที่มีความชำนาญเฉพาะในแต่ละสาขา รับนักศึกษาโควต้า จำนวน 20 คน 
พ.ศ.2537 
- เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา ในสาขาวิชาเทคโนโลยีปิโตรเลียม และได้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยความร่วมมือของบริษัท โททาลเอ็กซ์โพรเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น ไทยแลนด์ ร่วมกับ กรมอาชีวศึกษา รับนักศึกษา จำนวน 20 คน 
- เปิดสอนภาคสมทบแก่นักศึกษาผู้ใหญ่ระดับประกาสนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขาวิชาคือ 
1. สาขาวิชาช่างยนต์(สาขางานเทคนิคยานยนต์) 
2. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์(สาขางานเทคนิคการสื่อสาร)
วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่เข้าร่วมโครงการ DOVE-SAIT เป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้าน Telecomunication Training Project ระหว่างกรมอาชีวศึกษากับสถาบัน Southern Alberta Institution of Technology ประเทศแคนาดา และได้ส่งอาจารย์แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 คน ไปฝึกอบรมวิชาการสื่อสาร ที่สถาบันดังกล่าว 
พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) ระบบทวิภาคี 3 สาขา คือ 
1. สาขาวิชาช่างยนต์ 
2. สาขาวิชาช่างไฟฟ้า 
3. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง 
ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในการขยายการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2538 จากนั้นก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้งานระบบ Internet ได้โดยมี IP-Address Class C เป็น 203.150.169.xxx ภายใต้ Domain Name เป็น htc.ac.th เชื่อมต่อที่ความเร็ว 9600 bps ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับการใช้งานความเร็วไปที่ 64 Kbps 
พ.ศ. 2539 
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) ระบบทวิภาคี 2 สาขา คือ 
1. สาขาวิชาช่างเคหภัณฑ์ 
2. สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ 
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการติดตั้งและควบคุม แผนกวิชาช่างไฟฟ้า พ.ศ. 2540 
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น ปวช.) ระบบสมทบ 2 สาขา คือ 1. สาขาวิชาช่างยนต์ 2. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง 
- ลดสาขาวิชาช่างเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ (ปวท.) และเปิดสาขางานเครื่องเย็นและปรับอากาศ (ปวส.) ซึ่งรับจากนักศึกษา ม.6 แทน 
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) สาขากลุ่มวิชาชีพแม่พิมพ์โลหะ 
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม 
พ.ศ. 2540
โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาโครงสร้างเทคนิค
ในการบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา โดยใช้สถานที่ศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เป็นที่เรียน โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์บัณฑิตศึกษาวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่" โดยรับสมัครผู้ที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทุกสาขา ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีประสบการณ์เป็นผู้บริหาร ไม่ต่ำกว่าหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกขึ้นไป ในสถานประกอบการและธุรกิจ ทุกประเภท รวมทั้งหน่วยราชการทุกสังกัด - ใช้เวลาในการศึกษาเฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 3 ปี 
- มีนักศึกษารุ่นแรก ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 23 คน - มีนักศึกษารุ่นที่ 2 ปี พ.ศ. 2541 จำนวน 25 คน - มีนักศึกษารุ่นที่ 3 ปี พ.ศ. 2542 จำนวน 23 คน