เข้าใช้โดย IP: 44.192.95.161|
เมนูหลัก
หน้าหลัก
ความเป็นมา
ผู้บริหารวิทยาลัย
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ดาวน์โหลดเอกสาร
รายงานการประชุม
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสาร
ดาวน์โหลดคำสั่งวิทยาลัย
แผนที่ตั้งวิทยาลัย
ปฏิทินกิจกรรม
ช่องทางการติดต่อ
เข้าระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูล 9 ประการ
ข้อมูลบุคลากร
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย
หน่วยงานภานใน
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ฝ่ายบริหารทรัพยากร
แผนกวิชา
แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
แผนกวิชาช่างโยธา
แผนกวิชาช่างเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
แผนกวิชาช่างสำรวจ
แผนกวิชาสถาปัตยกรรม
แผนกวิชาช่างยนต์
แผนกวิชาช่างกลโรงงาน
แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ
แผนกวิชาช่างเทคนิคพื้นฐาน
แผนกวิชาช่างไฟฟ้า
แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
แผนกวิชาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์
แผนกวิชาเทคโนโลยีปิโตรเลียม
แผนกวิชาเทคนิคพลังงาน
แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์ซัพพลายเชน
แผนกวิชาเทคนิคควบคุมระบบขนส่งทางราง
แผนกวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
เพื่อนอาชีวะ
วิทยาลัยเทคนิคสตูล
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล
วิทยาลัยการอาชีพละงู
วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
วิทยาลัยเทคนิคยะลา
วิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว
วิทยาลัยการอาชีพควนขนุน
วิทยาลัยเทคนิคจะนะ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา
วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์
วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา
วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกร
วิทยาลัยการอาชีพนาทวี
วิทยาลัยการอาชีพสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
สถิติเว็บไซต์
ออนไลน์ :
1
เข้าชมวันนี้ :
4
เข้าชมเดือนนี้ :
407
เข้าชมปีนี้ :
11,783
ผู้เยี่ยมชมรวม :
131,201
ความเป็นมา
ประวัติวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
วีดีโอแนะนำวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
....วันที่ 1 กันยายน 2481 โรงเรียนประเภทอาชีวศึกษา ได้เปิดดำเนินการขึ้น
ในจังหวัดสงขลาพร้อมกัน 2 โรง คือ โรงเรียนช่างไม้สงขลา
และโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เมื่อเริ่มดำเนินการโรงเรียนช่างไม้สงขลา มีครู 2 คน
คือ นายจาบ แสงจันทร์ เป็นครูใหญ่ และ นายเขื่อน เขมาภรณ์ เป็นครูน้อย มีนักเรียน 30 คน อาศัยอาคารหลังเล็กในบริเวณโรงเรียนประชาบาล 1 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (โรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน) เป็นอาคารเรียนและที่ทำการ โรงฝึกงานอาศัยร่มไม้ของต้นก้ามปูและต้นหูกวาง
..... ทางด้านโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เปิดสอนแผนกช่างเย็บผ้า และแผนกช่างทอผ้า
แผนกช่างเย็บผ้า ได้เช่าห้องแถว 1 ห้อง ที่หน้าวัดดอนรักษ์ถนนไทรบุรี อ.เมือง จ.สงขลา
เป็นสถานที่เรียน ต่อมาได้ย้ายมาเช่าห้องแถวใหม่ที่หน้าสาขาสมาคมรัฐธรรมนูญ
ถ.กาญจนวนิช (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา)
เป็นสถานที่เรียน พ.ศ. 2482 โรงเรียนช่างไม้สงขลา และโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา ต่างได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนช่างไม้สงขลาได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้น
ที่บริเวณวัดนาถม ซึ่งร้างมานานแล้ว ส่วนโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นในที่ดินของราชพัสดุ กับที่ดินของการรถไฟ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ในปัจจุบัน)
พ.ศ.2490 ทั้งสองโรงเรียน ได้เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรับผู้สำเร็จชั้นป.4 เข้าเรียน
พ.ศ.2492 ได้ขยายชั้นเรียนสูงขึ้น เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับผู้สำเร็จ ชั้นม.3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน
พ.ศ.2493 นายจาบ แสงจันทร์ ครูใหญ่คนแรกเกษียณอายุพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อ 8 ธันวาคม 2493 และนายสุธน เจริญพงศ์ เข้ารับตำแหน่งสืบมา
พ.ศ.2501 โรงเรียนช่างไม้สงขลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสงขลา มีนายสุธน เจริญพงศ์ เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ.2502 ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฝึกช่างฝีมือขององค์การสนธิสัญญา
ป้องกันอาเซียอาคเนย์ (ส.ป.อ. SEATO) โดยมหาวิทยาลัย ฮาไวอิ เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
(หมดสัญญา เมื่อ 30 มิถุนายน 2508)
พ.ศ.2503 โรงเรียนการช่างสงขลาได้เปิดสอนวิชาช่างอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 6 แผนก คือ ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุและโทรคมนาคม โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นม.3 กับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปี เข้าเรียน
พ.ศ.2504 ทั้งสองโรงเรียนได้เปลี่ยนหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อระดับชั้นเรียน โดยเรียกชื่อใหม่ว่า ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สายอาชีพ รับผู้สำเร็จชั้น ม.3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน และชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ รับผู้สำเร็จชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน
พ.ศ.2507 โรงเรียนการช่างสตรีสงขลาได้รับคัดเลือกเข้าอยู่ในโครงการปรับปรุง
ของกรมอาชีวศึกษาด้วยความรวมมือของยูนิเซฟ จงมีการเปลี่ยนแปลงและกระบวนวิชาเรียนเป็นเปิดสอน4แผนกวิชาคือ
- แผนกอาหารและโภชนาการ
- แผนกผ้าและการตัดเย็บ
- แผนกวิชาคหกรรมศาสตร์
- แผนกวิชาศิลปหัตถกรรม
พ.ศ.2510 โรงเรียนการช่างสงขลา ได้ถูกจัดเป็นโรงเรียน โครงการเงินกู้พ่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ.2510-2514
พ.ศ.2514 โรงเรียนการช่างสงขลา โดยนายสุธน เจริญพงศ์ ได้ย้ายมาเรียนในที่ใหม่ที่หลักกิโลเมตรที่ 25 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนเทคนิคสงขลา" และปีต่อมาโรงเรียนการช่างสตรีสงขลาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลา"
1 ตุลาคม 2519 ทั้งสองได้รับการยกฐานะรวมกันขึ้นเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา โดยให้โรงเรียนเทคนิคสงขลาเป็นวิทยาเขต 1 และให้โรงเรียนเทคนิคสงขลามีพื้นที่ประมาณ เป็นวิทยาเขต2
1 ตุลาคม 2522 โรงเรียนเทคนิคสงขลา วิทยาเขต 1 ได้แยกจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาซึ่งมีอยู่ 2 วิทยาเขตโดยวิทยาเขต1 ได้เปลี่ยนมาเป็น วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ชึ่งตั้งอยู่เลขที่191/1ถนนกาญจนนิชอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลามีพื้นที่ 80 ไร่3งาน16.6 ตารางวาเป็นวิทยาลัยที่เปิดทำการสอนทางช่างอุตสาหกรรม
พ.ศ.2524 เปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.)4สาขาวิชาคือ 1.สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมสำรวจ2.สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า
3.สาขาวิชาช่างเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ
4.สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2527 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)เพิ่มขึ้นอีก2สาขาวิชาคือ 1.สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต
2.สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2529 เปิดสอน หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.)เพิ่มขึ้นอีก1สาขาวีชาในคณะวิชาช่างกล คือ -สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมเขียนแบบ -เปิดสอนหลักสูตรพิเศษ 1ปี ตาม โครงการอาชีวศึกษาเพื่อนาชนบท คือหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน
พ.ศ.2531 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เพิ่มขึ้นอีก 4 สาขาวิชา เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน คือ
1. สาขาวิชาช่างยนต์กลเกษตร
2. สาขาวิชาช่างเขียนแบบ
3. สาขาวิชาช่างสำรวจ
4. สาขาวิชาช่างเคหภัณฑ์
พ.ศ.2532 ลดสาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมเขียนแบบในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
พ.ศ.2533 ลดสาขาวิชาเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) 2 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า
2. สาขาวิชาช่างเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2534
- เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
เพิ่มอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาช่างโยธา คณะวิชาการก่อสร้าง
- เปิดสอนภาคสมทบ หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ที่กำลังทำงาน ได้มีโอกาสได้ศึกษาเพิ่มวิทยฐานะสาขาวิชาช่างเครื่องกลไฟฟ้า
- เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมอาชีวศึกษากับ
บริษัทโททาลเอ็กซ์โพรเรชั่นแอนด์โปรดักชั่นไทยแลนด์โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม
ช่างเทคนิคปฏิบัติการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ขึ้นที่วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ โครงการนี้มีกำหนด 3 ปี (ตั้งแต่ 1 กันยายน 2534-31 สิงหาคม 2537) ในปีแรกรับพนักงานเข้าฝึกอบรม จำนวน 50 คน (ระยะฝึกงานระหว่างเดือนธันวาคม 2534 - มีนาคม 2536) บริษัทได้สนับสนุนทางการเงินเพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรคิดเป็นมูลค่า ปีละประมาณ 840,000 บาท
พ.ศ.2536
- เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) เทียบเท่าปริญญาตรี ในสาขาวิชาเทคนิคการผลิต (วิชาเอกเชื่อมและประสาน) เพื่อผลิตครูช่างเทคนิคที่มีความรู้ ความสามารถ ในการสอนที่มีความชำนาญเฉพาะในแต่ละสาขา รับนักศึกษาโควต้า จำนวน 20 คน
พ.ศ.2537
- เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา ในสาขาวิชาเทคโนโลยีปิโตรเลียม และได้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยความร่วมมือของบริษัท โททาลเอ็กซ์โพรเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น ไทยแลนด์ ร่วมกับ กรมอาชีวศึกษา รับนักศึกษา จำนวน 20 คน
- เปิดสอนภาคสมทบแก่นักศึกษาผู้ใหญ่ระดับประกาสนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขาวิชาคือ
1. สาขาวิชาช่างยนต์(สาขางานเทคนิคยานยนต์)
2. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์(สาขางานเทคนิคการสื่อสาร)
วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่เข้าร่วมโครงการ DOVE-SAIT เป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้าน Telecomunication Training Project ระหว่างกรมอาชีวศึกษากับสถาบัน Southern Alberta Institution of Technology ประเทศแคนาดา และได้ส่งอาจารย์แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 คน ไปฝึกอบรมวิชาการสื่อสาร ที่สถาบันดังกล่าว
พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) ระบบทวิภาคี 3 สาขา คือ
1. สาขาวิชาช่างยนต์
2. สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
3. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในการขยายการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2538 จากนั้นก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้งานระบบ Internet ได้โดยมี IP-Address Class C เป็น 203.150.169.xxx ภายใต้ Domain Name เป็น htc.ac.th เชื่อมต่อที่ความเร็ว 9600 bps ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับการใช้งานความเร็วไปที่ 64 Kbps
พ.ศ. 2539
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) ระบบทวิภาคี 2 สาขา คือ
1. สาขาวิชาช่างเคหภัณฑ์
2. สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการติดตั้งและควบคุม แผนกวิชาช่างไฟฟ้า พ.ศ. 2540
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น ปวช.) ระบบสมทบ 2 สาขา คือ 1. สาขาวิชาช่างยนต์ 2. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
- ลดสาขาวิชาช่างเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ (ปวท.) และเปิดสาขางานเครื่องเย็นและปรับอากาศ (ปวส.) ซึ่งรับจากนักศึกษา ม.6 แทน
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) สาขากลุ่มวิชาชีพแม่พิมพ์โลหะ
- เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
พ.ศ. 2540
โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาโครงสร้างเทคนิค
ในการบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา โดยใช้สถานที่ศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เป็นที่เรียน โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์บัณฑิตศึกษาวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่" โดยรับสมัครผู้ที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทุกสาขา ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีประสบการณ์เป็นผู้บริหาร ไม่ต่ำกว่าหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกขึ้นไป ในสถานประกอบการและธุรกิจ ทุกประเภท รวมทั้งหน่วยราชการทุกสังกัด - ใช้เวลาในการศึกษาเฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 3 ปี
- มีนักศึกษารุ่นแรก ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 23 คน - มีนักศึกษารุ่นที่ 2 ปี พ.ศ. 2541 จำนวน 25 คน - มีนักศึกษารุ่นที่ 3 ปี พ.ศ. 2542 จำนวน 23 คน